-
การเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรีศึกษาจะเริ่มตั้งแต่ปูพื้นฐานทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติดนตรี โดยการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรจะครอบคลุมเนื้อหาวิชาที่นักศึกษาจำเป็นต้องศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาทฤษฎีดนตรีไทย วิชาประวัติศาสตร์ดนตรีไทย ดนตรีตะวันตก การปฏิบัติเครื่องเอก การขับร้องประสานเสียง การรวมวงดนตรี เป็นต้น
รูปแบบการเรียนการสอน
-
รูปแบบการเรียนการสอน ใช้รูปแบบการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยการใช้แอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องเข้ากับยุคสมัย รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ดนตรีจริงประกอบในการเรียน เพื่อการสร้างจังหวะ การสร้างเสียงที่เฉพาะเจาะจงในการเรียน โดยจะเรียนแบบกลุ่มในวิชาจำพวกทฤษฎี และเรียนแบบตัวต่อตัวในวิชาปฏิบัติเครื่องเอก สถานที่เรียนตึกดนตรี และตึกมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หากมีสถานการณ์สุ่มเสียงเกี่ยวกับโรคโควิด จะปรับการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยกำหนด
อุปกรณ์และห้องเรียน
- ห้องปฏิบัติการดนตรี
- ห้องอัดเสียง
- อุปกรณ์ดนตรีและห้องเรียนมีเพียงพอต่อผู้เรียน สามารถยืมเครื่องดนตรีและจองซ้อมได้ตามกฎเกณฑ์และระยะเวลาที่สาขาวิชากำหนด
แนวทางการประกอบอาชีพ
- ครูผู้สอนดนตรีในโรงเรียนระดับ
- การศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชน
- ผู้จัดการโรงเรียนดนตรีเอกชน
- นักวิชาการการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- นักวิชาการนันทนาการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- นักวิจัยดนตรีอิสระ
- นักดนตรีอาชีพ
- นักเรียบเรียงเสียงประสาน
รายวิชาที่ศึกษา